ระวังเห็ดพิษ อันตรายถึงชีวิต

View icon 80
วันที่ 2 มิ.ย. 2566
เช้าข่าว 7 สี
แชร์
เช้าข่าว 7 สี - ในช่วงฤดูฝน เตือนระวังการเก็บเห็ดพิษมาทำอาหาร เสี่ยงอันตราย จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทีมวิจัยธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. จัดทำอัลบั้มภาพและข้อมูล เทียบระหว่างเห็ดกินได้ และเห็ดพิษ ที่มีลักษณะคล้ายกันจนแยกไม่ออก ทำให้บางคนเข้าใจผิด เก็บนำไปประกอบอาหาร เคราะห์ร้ายเจอเห็ดพิษ อันตรายคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ความดันโลหิตสูง ปากชา และมีอาการขาดน้ำ บางคนอาการรุนแรง มีภาวะหัวใจล้มเหลว ถึงขั้นเสียชีวิต

เห็ดพิษอันตราย ที่มีชาวบ้านเก็บไปกินมากที่สุด เป็นอันดับ 1 ได้แก่ เห็ดหัวกรวดครีบเขียว ช่วงที่โตเต็มที่ หัวเห็ดจะบานออกเป็นร่ม มีสีขาว มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ตรงกลางมีสีน้ำตาล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเห็ดนกยูงมาก แต่เห็ดหัวกรวดครีบเขียวกินไม่ได้

ส่วน เห็ดถ่านใหญ่ ช่วงที่บานเต็มที่ จะเป็นสีดำ มีรอยฉีกขาด พบในป่าทางภาคเหนือ และภาคอีสาน มีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร ส่วนมากรับประทานได้ หากพบว่าเมื่อผ่าแล้วเนื้อดอกเปลี่ยนเป็นสีแดง คือ เห็ดถ่านเลือด ห้ามกินเด็ดขาด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

อีกชนิดเป็นกลุ่มเห็ดที่คล้ายเห็ดโคน ที่ราคาแพง และนิยมนำมาประกอบอาหาร เห็ดพิษจะหน้าตาคล้ายกัน มีพิษรุนแรงถึงชีวิต ให้สังเกตก้านเห็ดและหมวกเห็ด ดอกใหญ่ โคนอวบหนา เห็ดพิษจะคล้ายเห็ดหมวกจีน กินเข้าไปจะออกอาการภายใน 5 - 10 นาที จะคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ

นอกจากนี้ยังมีเห็ดพิษอีกหลายชนิด ประชาชนสามารถเข้าไปสอบถาม หรือตรวจสอบได้ที่เฟซบุ๊ก Macrofungi of Thailand (เห็ดราไลเคน จากป่าของไทย)