วราวุธ ส่ง กัญจนา เยี่ยมเด็ก 2 คนที่ถูกพ่อแม่ใจเหี้ยมทำร้ายร่างกาย เผย เด็ก 1 คน รักษาตัวอยู่ที่ รพ.เพื่อตรวจอาการบาดเจ็บอย่างละเอียด ทั้งภายในและภายนอก

View icon 203
วันที่ 20 ก.ย. 2566
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
วราวุธ ส่ง กัญจนา เยี่ยมเด็ก 2 คนที่ถูกพ่อแม่ใจเหี้ยมทำร้ายร่างกาย เผย เด็ก 1 คน รักษาตัวอยู่ที่ รพ.เพื่อตรวจอาการบาดเจ็บอย่างละเอียด ทั้งภายในและภายนอก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยถึงข่าวที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในสังคมขณะนี้ กรณีที่เด็ก 2 คนถูกพ่อแม่แท้ๆทำร้าย ก่อนจะพบว่าพ่อแม่นั้นได้ฆ่าลูกสาววัย 2 ขวบ ฝังดินโบกปูนไว้ที่กำแพงเพชร ด้วย ส่วน เด็กหญิง 2 คน ที่ กัน จอมพลัง ช่วยเหลือมาได้ถูกส่งมาดูในความดูแลของ พม.นั้น

โดย นายวราวุธ เผยว่า วันนี้เด็ก 1คน อยู่ที่โรงพยาบาล ส่วนเด็กอีกคนอยู่สถานสงเคราะห์เด็กหญิง บ้านราชวิถี แยกตึกชัย กทม. เช้าวันนี้ก่อนเที่ยง นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา จะเดินทางไปเยี่ยมเด็กทั้งคู่ ซึ่งสาเหตุที่เด็กคนหนึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากว่าร่างกายภายนอกเด็กมีร่องรอยถูกไฟลวก จึงให้เด็กไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลอย่างละเอียด เพราะว่านอกจากอาการบาดเจ็บภายนอกแล้ว ไม่รู้ว่าภายในมีอาการอะไรหรือไม่

ซึ่งตนเองยังไม่ได้เข้าไปพบเด็กทั้ง 2 คน เพราะมองว่า กรณีเช่นนี้ผู้ที่จะพูดคุยกับเด็กได้นั้นควรจะเป็นสหวิชาชีพ หรือ ผู้ที่ผ่านการทดสอบมาแล้วเท่านั้น จึงตัดสินใจ มอบหมายให้คุณกัญจนา ศิลปอาชา เข้าเยี่ยมเด็กแทนในวันนี้ เพราะคุณกัญจนา ผ่านประสบการณ์ลักษณะเช่นนี้มาแล้วนับ 10 ปี ตนเองนั้น ยังไม่มีประสบการณ์การเข้าไปพูดคุยกับเด็กจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

"ขณะที่ตนเองอยู่กระทรวงทรัพย์ฯ เวลาไปตรวจราชการ เห็นสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บกสัตว์น้ำ เขารักลูกเขามาก ใครเข้าไปใกล้ลูกเขา จะหวงเป็นที่สุด แต่ว่าเคสนี้ได้เห็นพฤติกรรมของพ่อแม่คู่นี้แล้ว ลูกตัวเองยังทำได้ขนาดนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเปรียบเทียบกับอะไรดี"

นายวราวุธ ยังเผยอีกว่า หากว่าเด็กทั้ง 2 คน พ่อแม่ถูกดำเนินคดี ทาง พม.จะมีมาตรการเรื่องของครอบครัวอุปถัมภ์ให้เด็ก ซึ่งเมื่อวานนี้ได้มอบนโยบายให้กับข้าราชการพม.ไปแล้ว โดยให้เน้นถึงคุณภาพครอบครัวอุปถัมภ์ และเลือกครอบครัวอุปถัมภ์ ให้เหมาะกับเด็กในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องราวที่กระทบกระเทือนจิตใจเด็กเป็นอย่างไร ครอบครัวอุปถัมภ์ต้องรับทราบ และต้องเข้าใจหาวิธีในการที่จะเยียวยาความรู้สึกต่างๆให้หายไป เพื่อที่เด็กเติบโตมาจะได้ไม่มีความรู้สึกเช่นนี้ค้างคาอยู่ในจิตใจอีก