วิจัยชี้เอเชียตะวันออกเคยเจอไวรัสโคโรนาระบาดมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ 20,000 ปีก่อน

View icon 3.9K
วันที่ 26 มิ.ย. 2564
7hdร้อนออนไลน์
แชร์
วันนี้ (26 มิ.ย.64) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิจัยออสเตรเลีย และสหรัฐฯ พบหลักฐานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในเอเชียตะวันออกเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน ในผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ เคอร์เรนท์ ไบโอโลจี

นักวิจัยทำการศึกษาจีโนม หรือข้อมูลทางพันธุกรรมของคนมากกว่า 2,500 คน จากกลุ่มประชากร 26 กลุ่มตัวอย่างที่ต่าง กันจากทั่วโลก โดยพุ่งเป้าไปที่การปฏิสัมพันธ์ของจีโนมมนุษย์และเชื้อไวรัสโคโรนาโดยมีการย้อนกลับไปที่ช่วงแรกสุดซึ่งทิ้งร่องรอยไว้ในดีเอ็นเอของคนในเอเชียตะวันออกในยุคปัจจุบัน ซึ่งจีโนมที่นักวิจัยศึกษานั้น มีข้อมูลวิวัฒนาการเกี่ยวกับมนุษย์ย้อนกลับไปได้หลายแสนปี

ด้านยัสซีน ซูอิลมี หัวหน้างานวิจัยเล่าว่า ไวรัสทำงานโดยการแบ่งตัว แต่เนื่องจากแบ่งตัวด้วยตัวเองไม่ได้จึงต้องอาศัยโฮสต์ อาทิ คน สัตว์ ดังนั้น ไวรัสจึงต้องบุกเข้าไปในเซลล์ของโฮสต์แล้วจึงใช้กลไกของโฮสต์ในการแบ่งตัว การเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ ไวรัสจะทิ้งร่องรอยไว้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเราเคยเจอ และปรับตัวเข้ากับเชื้อโควิด

ขณะที่ นักวิจัยยังพบอีกว่า ในจีโนมที่ศึกษามียีนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มประชากร 5 กลุ่ม อาทิ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม แต่อาจเป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสอาจแพร่ระบาดไปนอกเหนือจากประเทศที่ดังกล่าว แต่ทีมยังไม่มีข้อมูลการระบาดในพื้นที่อื่นจึงไม่สามารถสรุปได้  และในกลุ่มประชากรที่มียีนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส

หลังจากผ่านไป สิ่งนี้ได้ทิ้งร่องรอยที่ชัดเจนไว้ที่จีโนมของกรรมพันธุ์คนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยใช้ในการหาโรคระบาดในสมัยโบราณ และช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาด โดยการศึกษานี้พบว่า เชื้อไวรัสโคโรนานั้นอาจจะระบาดในภูมิภาคต่างๆ แล้วแพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออก

ทั้งนี้ นักวิจัยยังไม่สามารถระบุได้ว่าผู้คนในก่อนใช้ชีวิตอย่างไรในช่วงที่เกิดการระบาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่แน่ชัดว่าการระบาดเป็นเพียงโรคตามฤดูกาลอย่างไข้หวัดใหญ่ หรือระบาดต่อเนื่องเหมือนโควิดที่กำลังระบาดในปัจจุบัน