เคาะขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 2 บาท ยังดีกว่ารัฐบาลไม่ช่วย

View icon 38
วันที่ 15 พ.ย. 2566
สนามข่าว 7 สี
แชร์
สนามข่าว 7 สี - ยังอยู่ที่ปมน้ำตาลทรายจากที่รสชาติหวาน ๆ เกือบกลายเป็นขมเสียแล้ว แต่ปมนี้เริ่มคลี่คลายลงนิดนึงหลังจากที่เมื่อวาน ครม. มีมติขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 2 บาท แม้จะไม่ปรับขึ้น 4 บาท ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล หรือ สอน. เรียกร้องไว้ก็ตาม แต่อย่างน้อยก็น่าจะช่วยเกษตรกรไร่อ้อยลดต้นทุนการผลิตได้

เคาะขึ้นราคาน้ำตาลทราย กิโลกรัมละ 2 บาท ยังดีกว่ารัฐบาลไม่ช่วย
นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าจากมติที่ออกมารัฐบาลไฟเขียวให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทราย ได้แค่กิโลกรัมละ 2 บาท สะท้อนการเดินคนละครึ่งทาง แม้จะไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล และกลุ่มเกษตรกรแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องการเรียกร้องให้ปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 4 บาท แต่พอรับได้ อย่างน้อย ๆ การปรับขึ้นราคากิโลกรัมละ 2 บาท นั่นหมายความกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย จะมีรายได้จากการขายอ้อยเข้ากระเป๋าเพิ่มมากขึ้นประมาณ ตันละ 40 บาท ซึ่งสอดรับกับสภาพต้นทุนในปัจจุบัน

ส่วนอีก 2 บาท ที่รัฐบาลไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นราคา ซึ่งเป็นเงินที่จะต้องไปอยู่ที่กองทุนดูแลสิ่งแวดล้อมและรักษาเสถียรภาพราคาอ้อยและน้ำตาลทราย ก็หวังว่ารัฐบาลจะพิจารณาในวาระต่อไปเพราะถ้าไม่ปรับนั่นก็เท่ากับว่าเมื่อถึงเวลาที่ราคาอ้อยตกต่ำทางกองทุนฯ ก็จะไม่มีเงินใช้แก้ปัญหา หรือรักษาเสถียรภาพของราคาอ้อยและน้ำตาลทราย ตกเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องหาทางเข้ามาดูแลช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยอยู่ดี

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ทวงรัฐบาล จ่ายเงินชดเชยตัดอ้อยสด จ.นครราชสีมา 
และอีกข้อเรียกร้องกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พร้อมใจกันออกมาทวงถามเงินค่าชดเชยตัดอ้อยสดตามที่รัฐบาลเคยลั่นวาจาไว้ว่าจะจ่ายให้ตันละ 120 บาท ค่าจูงใจให้เกษตรกรร่วมโครงการลดฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านมาเกษตรกรจำนวนไม่น้อยต้องจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานในส่วนนี้ไปก่อน ก็ถือเป็นต้นทุนการผลิตเหมือนกัน แต่รัฐบาลกลับเตะถ่วงไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้สักที จนจะถึงฤดูตัดอ้อยของปีนี้แล้วถ้ายังไม่มีความชัดเจนอีก คงต้องหันกลับไปใช้วิธีเดิมคือการเผาอ้อยก่อนตัด เพื่อลดต้นทุน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง