หมอดื้อ เผยผลศึกษาผู้ติดโควิด ผู้มีอาการจากวัคซีนไม่ว่าจะมากหรือน้อย สมอง-ความจำได้รับผลกระทบแน่ ๆ

View icon 217
วันที่ 7 ก.ย. 2566
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
หมอดื้อ เผยผู้ติดโควิด ผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีน ไม่ว่าอาการจะมากหรือน้อย  พบสมอง-ความจำได้รับผลกระทบ แม้คนที่หายเป็นปกติยังพบโปรตีนพิษสมองเสื่อม ปะทุอยู่ในเนื้อสมอง ยังบอกไม่ได้เกิดกับใครได้บ้าง 

วันนี้ (7 ก.ย.66)  นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก  เรื่อง Long Covid and Vaccine: Truth and Brain Impact  ซึ่งเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ซึ่งได้การติดตามผู้ได้รับผลกระทบระยะยาวจากการติดโควิดตามธรรมชาติ และที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนทั้งหมด รวมทั้งคนปกติประมาณ 100 คน โดยได้ประเมินอาการของแต่ละคน  2-3 ครั้งนานกว่า 1 ปีครึ่ง พบว่า  ลองโควิดมีผลกระทบทางสมองเกิดขึ้นได้ โดย

* ไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงขณะติดโควิด
* สามารถเกิดขึ้นได้โดดๆ โดยไม่ร่วมกับอาการอื่น
* อาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางสมองและความจำก็สามารถเกิดแยกออกไปได้ และในบางรายนั้นอาการเกิดขึ้นทั้งทางสมองและร่างกายทั่วไป
* ความสำคัญอีกประการก็คือ แม้เมื่ออาการเป็นปกติไปแล้ว กลับยังพบโปรตีนพิษสมองเสื่อม ปะทุ ทั้งโปรตีน ทาว  (จำเพาะต่อ อัลไซเมอร์) NFL ซึ่งบ่งบอกการทำลายเนื้อสมองและมีการกระตุ้น astroglia จากการตรวจ GFAP ซึ่งจะเป็นชนวนให้กระตุ้น อมิลอยด์ และเหนี่ยวนำให้เกิดพยาธิสภาพจากโปรตีน ทาว
* การปะทุของสมองเสื่อมในลักษณะนี้ไม่ขึ้นกับการอักเสบของร่างกายชัดเจนจากการตรวจสารอักเสบ 13 ชนิด
* ลักษณะความผิดปกติเช่นนี้ไม่ขึ้นอยู่กับแอนติบอดี หรือภูมิในน้ำเหลืองชนิดที่เป็น anti idiotypic antobody และภูมิต่อ โควิด

ทั้งนี้ ไม่สามารถบอกได้ว่าใครจะได้รับผลกระทบในระยะยาวเช่นนี้ ทั้งจากการติดเชื้อธรรมชาติและจากวัคซีน แต่เกิดขึ้นได้แน่นอนและพบได้ไม่น้อย 

โดยการประเมินผลกระทบได้จากการตรวจเลือด ซึ่งเป็นมาตรฐานและถือเป็นการปฏิวัติการดูแลสมองเสื่อมตั้งแต่ยังไม่มีอาการโดยการตรวจเลือดพัฒนามาจาก บุคคลที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหรือไม่เป็นสมองเสื่อมจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ PET scan และหรือการกรวดน้ำไขสันหลัง

การปฏิวัติการดูแลสมองเสื่อม โดยยึดถือการตรวจเลือดตั้งแต่ไม่มีอาการ เป็นการแถลงเป็นทางการแล้วจากสมาคมอัลไซเมอร์ อเมริกันและนานาชาติในเดือนกรกฎาคม 2023 ในที่ประชุม ที่ อัมสเตอร์ดัม

การรอให้มีอาการก่อนถือเป็นการพลาดโอกาสทองในการชะลอป้องกันและรักษามีทั้งการไม่ใช้ยาและเป็นการปรับชีวิตและการใช้ยา ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ราคาถูกและปลอดภัย (ไม่นับรวมการใช้ monoclonal antibody ที่ราคาสูงมีข้อจำกัดและผลข้างเคียง)