อ.อ๊อดคาดพรุ่งนี้เริ่มพิสูจน์หาสารไซยาไนด์ในวัตถุพยาน

View icon 334
วันที่ 26 เม.ย. 2566
ข่าวออนไลน์7HD
แชร์
อ.อ๊อด เตรียมใช้เครื่องตรวจหาสารไขยาไนด์ในวัตถุพยาน คดีสะเทือนขวัญ “แอม” ผู้ต้องหาวางยาฆ่าคนอื่น คาดเริ่มตรวจได้พรุ่งนี้เช้า ย้ำ “สารไชยาไนด์” ออกฤทธิ์แรงถึงชีวิตได้ หลังกินเข้าไป 10-15 นาที หรือนานกว่านั้น

กรณีที่ นางสรารัตน์ หรือแอม ภรรยาของรอง ผกก.ราชบุรี ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีวางยาฆ่าคน และพบ สารไซยาไนด์ ในบ้าน นั้น
วันนี้ (26 เม.ย.66) รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด ประธานหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน ภาค 7 กำลังไล่เก็บตัวอย่างเพิ่มในรถ ในบ้านผู้ต้องสงสัย  ซึ่งทีม อ.อ๊อด นิติวิทยาศาสตร์ มก.จะร่วมตรวจพิสูจน์ทางเคมี คาดว่าพรุ่งนี้เช้าจะเริ่มวิเคราะห์หาสารเป้าหมายได้

สำหรับ “สารไซยาไนด์”  ถูกดูดซึมโดยทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และทางผิวหนัง ได้ โดยสารไซยาไนด์จะจับกับเฟอริกไอออน (Fe(III)) ของ heme ของไซโตโครมออกซิเดส ซึ่งเป็นสิ่งนี้ขัดขวางการใช้ออกซิเจนในเซลล์ และทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในเซลล์ อาการในระยะเริ่มต้น ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน หน้ามืด สับสน กระสับกระส่าย หายใจเร็ว และวิตกกังวล หมดสติ ชัก ความดันเลือดต่ำ หยุดหายใจ และช็อกในที่สุด และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ระยะเวลาสารไซยาไนด์ออกฤทธิ์
ความสามารถในการออกฤทธิ์นั้นอธิบายไว้เป็นเวลาหลายวินาทีถึง 1 หรือ 2  นาทีหลังจากการกลืนกินไซยาไนด์ทางปาก บางกรณียังรายงานระยะเวลา 5–10  นาที หรือนานกว่านั้น โดย ปริมาณไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ทำให้ถึงตายคือประมาณ 1  มก./กก. น้ำหนักตัว

สำหรับขึ้นตอนการตรวจหาสารไซยาไนด์ในวัตถุพยาน จะใช้เทคนิค GC-MS เป็นหลัก เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์ (Gas Chromatograph - Mass Spectrometer, GC-MS) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการวิเคราะห์หาสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่างๆ  เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่ต้องการความแม่นยำสูง สามารถเปรียบเทียบผลวิเคราะห์กับฐานข้อมูล (Library) เพื่อความถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารมาตรฐาน

เครื่อง GC-MS ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนของเครื่อง GC (Gas Chromatograpy) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการแยกองค์ประกอบของสารที่มีอยู่ในตัวอย่างให้ออกมาทีละองค์ประกอบก่อนที่จะเข้าสู่ดีเทคเตอร์ และส่วนของเครื่อง MS (Mass Spectrometer) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นดีเทคเตอร์ในการตรวจสอบดูว่าองค์ประกอบต่างๆ ที่ผ่านออกมาจากเครื่อง GC นั้น มีเลขมวล (Mass number) เป็นเท่าไร โดยสารจะเกิดการ แตกตัวอยู่ในรูปประจุ เรียกว่า Molecular ion, M+ หรือ M+. รูปแบบการแตกตัวของแต่ละโมเลกุลมีลักษณะเฉพาะ เรียกว่าแมสสเปกตรัม (Mass spectrum) โดยจะแสดงการแตกตัว (Fragmentation) ในรูปของมวลต่อประจุ เพื่อทำนายว่าสารที่ต้องการวิเคราะห์นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบชนิดใดบ้างและมีปริมาณเท่าไร