สภาองค์กรของผู้บริโภคร้อง ทบทวนเกณฑ์สิทธิ UCEP

View icon 123
วันที่ 4 ก.ย. 2565
แชร์

แม้สิทธิ UCEP หรือสิทธิฉุกเฉิน จะเป็นนโยบายรัฐบาลที่เปิดให้ทุกคนได้ใช้สิทธิ แต่เนื่องจากความจำกัดของเกณฑ์การใช้ ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ใช้สิทธิไม่ได้ โดยเฉพาะดุลยพินิจทางการแพทย์ สภาองค์กรของผู้บริโภค เดินหน้าขอปรับหลักเกณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิได้ง่ายขึ้น

ข้อจำกัดการเข้ารับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ UCEP เป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ยาก โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560- 30 เมษายน 2565 พบว่า มีผู้บริโภคเข้าใช้บริการทั้งสิ้น 1,966,165 ราย เข้าเกณฑ์ UCEP จำนวน 169,992 ราย หรือร้อยละ 8.65 ไม่เข้าเกณฑ์ 1,796,173 ราย หรือร้อยละ 91.35 ซึ่งการที่ผู้บริโภคถูกระบุว่าไม่เข้าเกณฑ์ กลายเป็นคำถามว่า การจะเข้าใช้สิทธิ UCEP ต้องมีระดับความเจ็บป่วยรุนแรงมากแค่ไหน

เกณฑ์ที่จำกัด บริการเข้าถึงยาก เป็นเรื่องที่สภาองค์กรของผู้บริโภค คาดหวังให้แก้ไขโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิการรักษาแบบทันท่วงที โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เสนอนโยบายให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ทบทวนหลักเกณฑ์การเข้าถึง สิทธิ UCEP โดยเฉพาะการขอให้ญาติร่วมพิจารณาระดับความเจ็บป่วยรุนแรง และขอให้คุมราคาหากรักษาเกิน 72 ชั่วโมง

ส่งไปที่ สพฉ.อันนี้โดยตรง อันที่ 2 นี่คือ ส่งไปกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่ที่ 3 นี่กรมการค้าภายใน / 3 ที่ เป็นที่ที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้
อย่างเช่นปัญหาที่ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์ หลักเกณฑ์มีปัญหา หลักเกณฑ์ไม่สอดคล้อง หลักเกณฑ์เข้าถึงยาก ก็ว่าไปที่ สพฉ. เรื่องเลย 72 ชั่วโมง แล้วราคามันแพง ก็ว่าไปที่ ให้กรมการค้าภายในไปช่วยคุมราคาของโรงพยาบาล