วันที่ 15 มีนาคม 2562 เวลา 10:14 น.

ความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มาจากคำว่า พระราชพิธี + บรม + ราช + อภิเษก

และคำที่สำคัญที่ให้ความหมายได้อย่างดีก็คือ “อภิเษก” แปลว่า รดน้ำ ความจริงแล้วคำนี้แปลว่ารดน้ำเท่านั้น มิได้มีความหมายเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยบัญญัติให้เป็นคำราชาศัพท์โดยเฉพาะความหมายของการรดน้ำในอินเดียมีหลายความหมายในการนี้จะกล่าวถึง 2 พระราชพิธี

- ราชาภิเษก หมายถึง การรดน้ำเพื่อแต่งตั้งการเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

- อินทราภิเษก หมายถึง การรดน้ำเพื่อเป็นพระอินทร์ ซึ่งหมายถึงเป็นพระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่คือราชาธิราช

ประเทศไทยได้รับต้นแบบสืบทอดมาจากอินเดีย
พวกอารยันจัดเป็นประเพณีตั้งของตน เมื่อคราวพระเจ้าแผ่นดินว่างลง หัวหน้าทั้ง 4 วรรณะ คือ วรรณพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ วรรณะศูทร

จัดประชุมกันเพื่อเลือกผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ ซึ่งประกอบด้วยพิธีการที่ต้องปฏิบัติ 3 อย่าง คือ

การอภิเษก หรือมักเรียกว่าอินทราภิเษก ,การกระทำสัตย์
และการถวายราชสมบัติ
การพิธีราชสูยะ ประกอบการขึ้นในพระราชมณเฑียร หรือในท้องประโรงซึ่งตรงกลางห้องจะตั้งราชสีหาสน์ ที่ลาดด้วยพรมขนสัตว์อย่างดีเนื้อละเอียดแล้วปูทับด้วยหนังราชสีห์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าบัลลังก์ที่มีบันได 3 ขั้น

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย มีรายละเอียดในขั้นตอนการประกอบพระราชพิธีมากกว่าพระราชพีราชสูยะของอินเดีย ทั้งนี้เพราะได้มีการผสมผสานทั้งความเชื่อและพิธีการทั้งของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ และคติความเชื่อในประเพณีดั้งเดิมของคนไทย สิ่งต่าง ๆ ที่นำมาประกอบขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและเครื่องใช้ในการสมโภชพระมหามณเฑียร ก็ล้วนมีความหมายอ้นเป็นมงคลยิ่งทั้งสิ้นซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมีอารยธรรมและภูมิปัญญาอันสูงยิ่งของบรรพบุรุษ

ที่มา : กระทรวงวัฒนธรรม, FB : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒