นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

หมายเลข 8

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

อิสระ

นโยบาย

กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

นโยบาย จาก 200 นโยบาย สู่ 9ดี ปลอดภัยดี / เดินทางดี / สุขภาพดี / สร้างสรรค์ดี / เศรษฐกิจดี / สิ่งแวดล้อมดี / โครงสร้างดี / บริหารจัดการดี และ เรียนดี ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์มาจากเครือข่ายหน่วยงานรัฐ ผู้เชี่ยวชาญ ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้ชื่อทีม “เพื่อนชัชชาติ”

- ปลอดภัยดี-สร้างแผนที่จุดเสี่ยงด้านอาชญากรรม จราจร และสาธารณภัย รู้ก่อน ป้องกันได้ ไหวตัวทัน -จัดตั้งศูนย์สั่งการ เพื่อความชัดเจน คล่องตัว ในการรับมือกับสาธารณภัย-พนักงาน กทม. เป็นหูเป็นตา ช่วยแจ้งถนนพัง ไฟดับ ทางเท้าทรุด ฯลฯ -ทุกโครงสร้างพื้นฐานในกทม. พร้อมใช้ มีเจ้าหน้าที่ประจำดูแล -พัฒนาที่พักชั่วคราว ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ที่คนไร้บ้านเข้าถึงได้

- เดินทางดี -ใช้ระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS) บริหารจราจรทั้งโครงข่ายเพื่อบรรเทาปัญหาจราจร-พัฒนารถสาธารณะทั้งระบบ เพื่อรถสายหลักและรอง (trunk and feeder) ราคาถูกและราคาเดียว -หารือเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ รฟม. เพื่อลดค่าแรกเข้า ลดรายจ่ายประชาชน-พัฒนาจุดจอดจักรยานที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในจุดเชื่อมต่อการเดินทาง-กรุงเทพฯ เดินได้ พัฒนาเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กทม.

- สุขภาพดี -เชื่อมโยงประวัติคนไข้ภายในสถานพยาบาลในกรุงเทพฯ เพื่อส่งต่อและดูแลรักษาได้ทั่วกรุงเทพฯ-เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากรในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.)-หมอถึงบ้านผ่าน Telemedicine-ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง สู่ชุมชนชนทั่วกรุงเทพฯ เสริมศักยภาพ อสส. สู่ caregiver คุณภาพ-เพื่อพื้นที่ออกกำลังกาย พัฒนาลานกีฬาต้นแบบ 180 แขวง 180 ลาน ภายใน 100 วันแรก

- สร้างสรรค์ดี -เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เดิม เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองและพื้นที่สาธารณะ-สร้าง open art map and calendar ให้ประชาชนปักหมุดกิจกรรมหรือตามเสพงานศิลป์ได้ทั่วกรุง -ปักหมุดทำฐานข้อมูลรวมพื้นที่ของรัฐและเอกชนให้ประชาชนเลือกใช้จัดกิจกรรม-เปิดพื้นที่ กทม. ให้แสดงสตรีทโชว์ -ห้องสมุด กทม. สู่ห้องสมุดดิจิทัล ยืมหนังสือออนไลน์ อ่าน e-book ได้จากทุกที่

- สิ่งแวดล้อมดี -เพิ่มพื้นที่สีเขียวและลานกีฬาให้เดินถึงภายใน 15 นาที-จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต-ปลูกต้นไม้ล้านต้น เสริมร่มเงาเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่น -ตรวจจับรถปล่อยควันดำเชิงรุกจากต้นทาง เช่น สถานีรถโดยสาร และไซต์ก่อสร้าง-ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงจตลอดอายุขัย ป้องกันการสูญหาย และการปล่อยปละละเลย -แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง มุ่งเป้าองค์กรและสรี้างพื้นที่เขตต้นแบบ

- โครงสร้างดี -วางแผนต้นแบบเมืองใหม่ (ชานเมือง) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระจายแหล่งงาน ลดการกระจุกตัวในเขตเมือง -สร้างฐานข้อมูลที่ดินว่างเพื่อโอกาสพัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนกรุงเทพฯ -ลอกท่อ ลองคูคลอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูง ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมหาพื้นที่รับน้ำธรรมชาติ -เตรียมจุดทิ้งขยะ จุดซักล้างในทุกพื้นที่การค้าแผงลอย -ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่แหล่งกำเนิด (onsite treatment) นำร่องชุมชนริมคลองและตลอดสดทั่วกรุงเทพฯ

- บริหารจัดการดี -พัฒนาระบบการขออนุญาตจาก กทม. ให้ประชาชนตรวจสอบและติดตามได้ -ทบทวนข้อบัญญัติ กทม. และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน -เปิดข้อมูลกรุงเทพฯ อย่างมีคุณภาพใช้งานได้จริง-จัดสรรงบประมาณบริหารกรุงเทพฯ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน (participatory budgeting)-เปิดให้ประชาชนร่วมประเมิน ผอ.เขตและผู้ว่าฯ -สร้างอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ประจำย่าน ช่วยคนกรุงเทพฯให้เข้าถึงเทคโนโลยี

- เรียนดี -เปิดโรงเรียน กทม. เล่นหรือเรียนได้ในวันหยุด-ชีวิตคนกรุงเทพฯ ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มสวัสดิการและลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี -ขยายเวลาโรงเรียนให้สอดคล้องกับเวลางานของผู้ปกครอง มีครูเฝ้า มีกิจกรรมสร้างสรรค์จากวิทยากรทั้งในและนอก-เพิ่มหลักสูตรภาษาต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานในโรงเรียนสังกัด กทม. พร้อมสำหรับทักษะที่จำเป็นในอนาคต-พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็กใกล้ชุมชนและแหล่งงาน โดยเพิ่มปริมาณ เพิ่มบุคลากร ปรับหลักสูตร และเพิ่มบริการ-เพิ่มหลักสูตรฝึกอาชีพ กทม. ให้สอดคล้องกับฝั่งธุรกิจและการค้าขายออนไลน์

- เศรษฐกิจดี -ปั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ 12 เทศกาลตลอดปี -ชูอัตลักษณ์ย่านทั่วกรุง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก-ยกระดับผู้ค้าแผงลอยให้มีความยั่งยืน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงิน ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี และจัดหาสถานที่ค้าขาย-สร้างแบรนด์ Made in Bangkok (MIB) คัดเลือกและพัฒนาสินค้าจากผู้ผลิตในกรุงเทพฯ โปรโมตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ ไปสู่ตลาด e-Commerce ขนาดใหญ่-พัฒนาเศรษฐกิจกลุ่มธุรกิจ Hi Tech เช่น eSports, e-Commerce และ Hi Touch เช่น นวด สปา กิจกรรมฝึกจิตใจ