เปิดข้อมูล สสส. ผู้หญิงถูกละเมิดและกระทำรุนแรง ไม่น้อยกว่า 7 คนต่อวัน 62 องค์กรเรียกร้องรัฐบาล ยกเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อยุติความรุนแรง

วันที่ 8 มี.ค. 2567 เวลา 10:46 น.

62 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลประกาศให้ “การยุติความรุนแรงทางเพศ เพศสภาพ” เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องในวันสตรีสากล เนื่องในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล (International Women's Day) วันนี้ (8มี.ค.67) ตัวแทนองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาคทางเพศ 62 องค์กร เดินทางมายังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 เพื่อยื่นหนังสือถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้ “การยุติความรุนแรงทางเพศ เพศสภาพ เป็นวาระแห่งชาติ” เพราะความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาพ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยสถิติความรุนแรงทางเพศจากองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบว่าจำนวนผู้หญิงและเด็กหญิงที่เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมมีจานวน 81,000 คน และร้อยละ 56 จากทั้งหมดเสียชีวิตด้วยเงื้อมมือของคู่รักหรือสมาชิกในครอบครัวตนเอง ส่วนข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ผู้หญิงไทยเผชิญปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงทางเพศอย่างต่อเนื่อง ผู้หญิงถูกละเมิดทางเพศ ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ ไม่น้อยกว่า 7 คนต่อวัน มีสถิติผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาและแจ้งความร้องทุกข์ประมาณปีละ 30,000 คน อีกทั้งมีรายงานการเก็บข้อมูลจากสื่อ พบว่าบุคคลเพศหลากหลายในไทยถูกสังหารจากความเกลียดชังด้วยเหตุแห่งเพศจำนวน 21 คน ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้อง คุ้มครอง มิให้ผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลเพศหลากหลายถูกกระทาความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ 1. เร่งรัดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทุกภาคส่วน หน่วยงานบริการสวัสดิการสังคม คุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัย สาธารณสุข กาหนดแผนการดาเนินงาน จัดทาแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลเพศหลากหลาย ให้ปลอดภัยจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ 2. รัฐบาลต้องแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทาความรุนแรงในครอบครัวให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน คานึงถึงความปลอดภัยของผู้ถูกกระทา 3. สานักงานตารวจแห่งชาติต้องจัดให้มีหน่วยพิเศษ Special Unit รองรับการดาเนินคดีความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลเพศหลากหลาย เป็นการเฉพาะ และจัดให้มีพนักงานสอบสวนหญิงอย่างน้อยในทุกอาเภอทั่วประเทศ 4. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการปกป้องคุ้มครองผู้หญิง เด็ก บุคคลในครอบครัว และบุคคลเพศหลากหลาย ต้องเก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศในระดับประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5. รัฐบาลต้องผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายการรับรองเพศสภาพ กฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 6. ยกเลิกโทษทางอาญากับบุคคลที่ยุติการตั้งครรภ์นอกเงื่อนไขกฎหมาย และจัดให้มีสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ของรัฐอย่างปลอดภัยทุกจังหวัด และมีบริการคุมกาเนิดโดยเคารพสิทธิมมนุษยชนของผู้รับบริการ 7.รัฐบาลต้องมีนโยบายไม่บังคับตรวจหาเอชไอวีในหน่วยงาน