ปฏิทินวันพระ ใน พ.ศ.2567 มีวันไหนบ้าง?

วันที่ 21 ธ.ค. 2566 เวลา 15:31 น.

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา เช่น ถือศีล ,ฟังธรรม ,เข้าวัดเพื่อทำบุญ ,ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ไม่ควรทำบาปใดๆ ยิ่งในวันนี้เพราะถือว่าบาปยิ่งกว่าวันอื่น โดยกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วันได้แก่ -วันขึ้น 8 ค่ำ -วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) -วันแรม 8 ค่ำ -วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) โดยมีการกำหนดวันพระใหญ่ ซึ่งได้แก่ วันขึ้นและวันแรม 15 คํ่า โดยมีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอยู่ในวันพระใหญ่ด้วย ได้แก่ วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ส่วนวันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึงก่อนวันพระ 1 วัน ในวันพระนี้ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น ประวัติความเป็นมา :  ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ) โดยในปี พ.ศ.2567 มีวันพระและวันพระใหญ่ ดังนี้ มกราคม วันพฤหัสบดีที่ 4 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) วันพุธที่ 10 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) วันพฤหัสบดีที่ 18  ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) วันพฤหัสบดีที่ 25 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) กุมภาพันธ์ วันศุกร์ที่ 2 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) วันศุกร์ที่ 9 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) วันเสาร์ที่ 17 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) วันเสาร์ที่ 24 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) (วันมาฆบูชา) มีนาคม วันอาทิตย์ที่ 3 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) วันเสาร์ที่ 9 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) วันอาทิตย์ที่ 17 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) วันอาทิตย์ที่ 24 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) เมษายน วันจันทร์ที่ 1 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) วันจันทร์ที่ 8 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) วันอังคารที่ 16 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) วันอังคารที่ 23 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) พฤษภาคม วันพุธที่ 1 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕)  (วันแรงงาน) วันอังคารที่ 7 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) วันพุธที่ 15 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง วันพุธที่ 22 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) (วันวิสาขบูชา) วันพฤหัสบดีที่ 30 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) มิถุนายน วันพฤหัสบดีที่ 6 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) วันศุกร์ที่ 14 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) วันศุกร์ที่ 21 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) วันเสาร์ที่ 29 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) กรกฎาคม วันศุกร์ที่ 5 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) วันเสาร์ที่ 13 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) วันเสาร์ที่ 20 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) (วันอาสาฬหบูชา) วันอาทิตย์ที่ 21 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) (วันเข้าพรรษา) วันอาทิตย์ที่ 28 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) สิงหาคม วันอาทิตย์ที่ 4 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) วันจันทร์ที่ 12 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) วันจันทร์ที่ 19 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) วันอังคารที่ 27 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) กันยายน วันจันทร์ที่ 2 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) วันอังคารที่ 10 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) วันอังคารที่ 17 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) วันพุธที่ 25 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ตุลาคม วันพุธที่ 2 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) วันพฤหัสบดีที่ 10 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) วันพฤหัสบดีที่ 17 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) (วันออกพรรษา) วันศุกร์ที่ 25 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) วันพฤหัสบดีที่ 31 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) พฤศจิกายน วันศุกร์ที่ 8 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) วันศุกร์ที่ 15 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) วันเสาร์ที่ 23แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) วันเสาร์ที่ 30 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ธันวาคม วันอาทิตย์ที่ 8  ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) วันอาทิตย์ที่ 15 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) วันจันทร์ที่ 23 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) วันอาทิตย์ที่ 29 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ขอบคุณข้อมูล : myhora.com