กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

วันที่ 4 มิ.ย. 2566 เวลา 16:34 น.

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 7 – 11 มิ.ย. 66 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่า วันนี้ (4 มิ.ย. 66) จะมีร่องมรสุมพาดผ่าน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมและมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 – 11 มิ.ย. 66 ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ 1. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) • จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) • จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) • จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) • จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย) • จังหวัดพิจิตร (อำเภอบางมูลนาก) • จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) • จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอบรรพตพิสัย) • จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) • จังหวัดอุทัยธานี(อำเภอหนองขาหย่าง) 2. ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอบ้านโพธิ์) • จังหวัดสระแก้ว (อำเภอวัฒนานคร) • จังหวัดชลบุรี (อำเภอพานทอง) • จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) • จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) • จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่) 3. ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) • จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) • จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) • จังหวัดกระบี่ (อำเภอคลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) • จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) • จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) • จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน) ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน 2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที