แม็กนา สรุปยอดเม็ดเงินสื่อโฆษณาทั่วโลกปี 64 เติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 22% จบที่ 710,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ติดลบ 2.5% ในปี 63 จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

View icon 46
วันที่ 28 ม.ค. 2565
แชร์

กรุงเทพฯ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 – ล่าสุด แม็กนา หน่วยธุรกิจภายใต้ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (IPG Mediabrands) ได้ออกรายงาน MAGNA GLOBAL ADVERTISING FORECASTS ที่มีสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับตลาดสื่อและโฆษณาทั่วโลกของปี 2564 โดยรายได้ของผู้ประกอบการสื่อโฆษณาจากทั่วโลกในปีที่ผ่านมาเติบโตกว่า 22% หรือ 710,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 23.4 ล้านล้านบาทไทย ซึ่งเป็นการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณาที่ติดลบ 2.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยรายได้จากการโฆษณาในสื่อหลักอย่าง โทรทัศน์ วิทยุ สื่อนอกบ้าน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อภาพยนตร์ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นกว่า 9% หรือ 21,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับยอดขายโฆษณาดิจิทัลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น กว่า 31% หรือ 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันเม็ดเงินดิจิทัลทั้งหมดคิดเป็น 62% ของยอดขายโฆษณาทั้งหมดทั่วโลก

คุณกนกวรรณ คุณาเรืองโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายซื้อสื่อโฆษณา ของแม็กนา (MAGNA) ประเทศไทย  “สถานการณ์โควิด-19 ยังคงเป็นตัวแปลสำคัญของตลาดโฆษณาทั่วโลก ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกเช่น ทวีปอเมริกา และยุโรปมีการเติบโตถึง 23.5% กลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกาเติบโตถึง 26.1% เทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นก็มีการเติบโตเช่นกันที่ 16.5% โดยมีประเทศจีนและอินเดียเป็นตลาดหลักที่ได้มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในปี 2564 ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563”  พร้อมกล่าวเสริมว่า “ในปีที่ผ่านมาการลงทุนในสื่อโฆษณาได้เปลี่ยนไปสู่สื่อดิจิทัลมากขึ้นสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันที่ work from home จึงทำให้เข้าถึงช่องทางดิจิทัลในทุกแพลตฟอร์ม รวมไปถึง e-commerce มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นในปีนี้หลากหลายแบรนด์ยังคงต้องวางกลยุทธ์ที่เน้นไปทางสื่อดิจิทัลแบบ 360 องศา เพื่อแข่งขันกับผู้เล่นจำนวนมากในตลาดออนไลน์และเน้นหนักในด้านการขาย ในส่วนอุตสาหกรรมที่ทุ่มงบเพื่อเพิ่มสื่อโฆษณามากขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม บันเทิง ค้าปลีก E-commerce และเทคโนโลยี ในทางกลับกันอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มียอดซื้อสื่อโฆษณาถดถอยโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายปีที่ยอดการผลิตได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลโดยตรงแก่ยอดขายและการโฆษณา